ชีววิทยา วันที่ 19 เมษา

ชีวะ ต่อ จ้า


วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ.2556

นักเรียนจะสรุปหน้าที่ของไตได้ว่าอย่างไร
ตอบ กำจัดของเสียในกระแสเลือดจากแมททาบอลิซึมและดูดสารที่มีประโยชน์เข้าสู่กระแสเลือด รักษาสมดุลค่าความเป็นกรด เบส

ถ้าร่างกายของนัเรียนอยู่ในภาวะขาดน้ำร่างกายจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้และถ้าร่างกายได้รับน้ำมากเกินไปวิธีการที่ใช่รักษาสมดุลของน้ำในร่างกายเป็นอย่างไร
ตอบ ไฮโพทาลามัสจะไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหลังให้หลั่งฮอร์โมน ADH เข้าสู่กระแสเลือดและไปกระตุ้นให้หน่วยไตและท่อรวมดูดน้ำกลับคืนสู่หลอดเลือดทำให้ปริมาณน้ำในกระแสเลือดสูงขึ้นและการขับถ่ายน้ำออกนอกร่างกายลดลง นอกจากนี้ ร่างกายจะกระตุ้นสมองส่วนไฮโพทาลามัสกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกกระหายน้ำ ถ้าหากได้รับน้ำมากไปจะส่งผลให้ไม่มีการกระตุ้นให้หลั่ง ADH  ออกมา การขับถ่ายน้ำออกนอกร่างกายจะมากขึ้น

ฮอร์โมนแอลโดสเตอโรนเกี่ยวข้องกับการควบคุมสมดุลของโซดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส อย่างไร
ตอบ  เป็นตัวควบคุมการดุดกลับของสารดังกล่าว เข้ากระแสเลือด ถ้าร่างกายขาดสารดังกล่าวจะมีผลไปกระตุ้นฮอร์โมนแอลโดสเตอโรนออกมา ในทางตรงกันข้าม ถ้าร่างกายมีสารดังกล่าวมากเกินไป จะมีการหลั่งฮอร์โมนนี้ลดลงซึ่งจะมีผลต่อการดูดกลับสารดังกล่าว

การรักษาสมดุลของกรด - เบส ในร่างกายเกี่ยวข้องกับอวัยวะใดบ้าง และอวัยวะเหล่านั้น มีการรักษาสมดุลกรด - เบส อย่างไร
ตอบ ไตมีการกำจัดโซเดียมไอออนและคาร์บอเนตไอออนออกมาจากกระแสเลือด เข้าสู่ท่อหน่วยไต ระบบหายใจกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์


ถ้าสารที่กรองผ่านโกลเมอรูลัสทั้งหมดถูกกำจัดออกนอกร่างกาย นักเรียนคิดว่าจะเกิดผลอย่างไร
ตอบ สิ่งมีชีวิตจะสูญเสียสารอาหาร ไปจนหมด อาจทำให้ตายได้

เลือดที่เข้ามาที่หน่วยไตแตกต่างจากเลือดที่ออกจากหน่วยไตอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ตอบ


มีอวัยวะใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสีย
ตอบ ปอด ไต ผิวหนัง ท่อปัสสาวะ

ส่วนใด ที่ทำหน้าที่กรองสารจากเลือด และ เพราะเหตุใดสารที่กรองได้นั้น จึงสามารถเข้าไปในโบว์แคปซูล
ตอบ  จะอาศัยความดันของเลือดทำให้สารนั้นแพร่เข้าสู่โบว์แมนแคปซูล

การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะเพื่อดูว่าไตทำงานผิดปกติหรือไม่

1. ค่า pH  เพื่อดูความเป็นกรด - เบส
2.sp.grย่อมาจาก specific gravity เป็นการวัดค่าความถ่างจำเพาะ ของปัสสาวะเพื่อดูความเข้มข้นของสาร ที่ปะปนมากับปัสสาวะ ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ถ้าค่านี้สูงจะเป็น positive สันนิฐานว่ามีการผิดปกติเกี่ยวกับไต
3.albumin ถ้าตรวจพบในปัสสาวะแสดงว่าไตทำงานผิดปกติ
4.น้ำตาล หรือ sugar  ถ้าพบน้ำตาลในปัสสาวะอาจเป็นผลมาจากการทำงานของไตผิดปกติหรือ อาจการเป็นการทำงานผิดปกติของระบบฮอร์โมน 


โครงสร้างของต่อมเหงื่อมีความเหมาะสมกับการทำหน้าที่ ขับถ่ายอย่างไร
ตอบ ต่อมเหงื่อมีลักษณะเป็นท่อขดไปมา บริเวณต่อมเหงื่อจะมีหลอดเลือดฝอย เพื่อกำจัดของเสียจำพวกน้ำและยูเรีย ออกทางต่อมเหงื่อและผิวหนัง

เมื่ออุณหภูมิของอากาศลดต่ำลงผิวหนังจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพราะเหตุใดจึงมีเหงื่อน้อย และ บางครั้งอาจมีอาการตัวสั่น
ตอบ เมื่ออุณหภูมิลดลง จะมีการกระตุ้นไฮโพทาลามัส ให้สั่นและหดตัว และกล้ามเนื้อจะกระตุกจนเกิดการสั่น และจะมีการสูญเสียเหงื่อน้อย เพื่อสร้างความอบอุ่นในร่างกาย




-----ขอบคุณ-----
อนุสรณ์ พงษ์เพ็ง
(ที่พิมพ์มาให้)




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น